2008-06-04

โรควุ้นลูกตาเสื่อม ( Vlireous degeneration)


เนื่องด้วยปัจจุบันได้มีร้านอินเตอร์เน็ตหรือร้านเกมส์เยอะและมีคนเล่นเกมส์และเน็ตเป็นเวลานานรวมถึงคนที่ทำงานที่ต้องอยู่หน้าคอมเป็นเวลานาน ควรพึงระวังไว้เกี่ยวกับโรคภัยที่จะตามมากับการอยู่หน้าคอมเป็นระยะเวลานานๆ
เตือนคนที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ไม่ว่าจะใช้เล่นเกมส์ หรือใช้ว่าทำงานลองอ่านดูนะ แล้วก็ดูแลตัวเองด้วย ตอนนี้ในประเทศไทยมีคนเป็นโรค "วุ้นในลูกตาเสื่อม" ถึง 14 ล้านคนแล้วครับจากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์ ?? นี่เฉพาะแค่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้นะครับ คนที่ไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองก็เป็นจะมากขนาดไหน

- ผมคิดว่า ในขณะที่คุณอ่านข้อความของผมนี้จากทางเนตบางคนก็เป็นแต่ไม่รู้ตัวครับ
อาการก็คือ : คุณจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนยักใย่ ลอยไปลอยมา เหมือนคราบที่ติดกระจกน่ะครับ จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา ถ้าอาการมากกว่านั้นก้อคือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆ) และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด (ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิม จะตาบอดหรือไม่ ?)

สาเหตุของโรคนี้คือ : การใช้สายตามากเกินไป (เล่นคอม)
แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้สายตามากๆ เช่น ช่างเจียรไนเพชรพลอย ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม
คุณฟังไม่ผิดหรอกครับ เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก ? ไม่ว่าคุณจะเล่นเนต , เล่นเกมส์ , อ่านไดอารี่ , อ่านบทความ , อ่านหนังสือ หรืออะไรก็ตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้น เพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ ระยะห่างระหว่าง ลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่แน่นอน เพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอน กล้ามเนื้อและประสาทตา จึงทำงานค่อนข้างคงที่

แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่ชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส (เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป และจอ LCD เราก้อต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือมันไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือนอยู่บนแผ่นกระดาษ การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน )

บวกกับลักษณะการอ่านหน้าหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง เพื่อจะอ่านบรรทัดด้านล่างได้ หรือไม่ก็ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์ หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ แต่การเลื่อนบรรทัดนี้ มันไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษที่แขนกับคอ จะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน

แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้างหรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตุดู) มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะลูกตาจะต้องลากลูกตา เลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ นั้นไปตลอด บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้นบางที คุณต้องก้มเพื่อมองนิ้วว่ากดตำแหน่งบนแป้มพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จคุณจะปวดตามากๆ


อย่างเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ ติดต่อกันข้ามคืน สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ รวมทั้งเวลาการเปิดโปรแกรม word ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีสว่าง (ที่นิยมก็คือ ตัวหนังสือดำ พื้นสีขาว ) สีพื้นที่สว่างขาวจ้า นี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป หรือไม่ก็ในคนที่ชอบเล่นเกมส์บ่อยๆ มักจะมีการปรับแสงสว่างให้จ้าที่สุด

เพราะเวลาเล่นเกมส์ ภาพพื้นหลังของเกมส์มักจะมืดๆ เป็นสีกำแพง เป็นสีปราสาท มันจะให้สีสวยสดดี แต่การทำแบบนี้มีข้อเสียคือ บางทีคุณหรือพี่น้องของคุณมาใช้คอมเครื่องนั้นต่อ จะทำให้บางครั้งลืมปรับความสว่างกลับมาให้มืดเหมือนเดิม จากที่แค่สว่างพอที่จะพิมพ์รายงาน กลายเป็นจ้องจอสว่างจ้าตลอดคืนไม่รู้ตัว สรุปก็คือ

1. การมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่ในจอ โฟกัสไม่แน่นอน กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก " ทำให้สายตาเสีย "
2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด ในหน้าคอม หรือ หน้าเนต มันจะเลื่อนแบบเป็นกระตุกๆ ทำให้สายตาเสีย การกระตุกๆ ของแถบบรรทัดนี่เองที่ทำให้สายตาเสีย ถ้าคุณอ่านหนังสือจากเวปมากๆ คุณจะติดนิสัยเสียอย่างนึงติดตัวไปคือ คุณจะติดนิสัย มองอะไรก็ตาม ไม่ว่าใกล้ไกล จะปรับโฟกัสมองเพ่งอยู่เสมอ ผลก็คือ กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก คุณจะเริ่มมองของที่อยู่ไกลๆ เบลอๆ คุณจะไม่สามารถปรับโฟกัส มองของใกล้ แล้วมองไกล ได้ทันทีเหมือนเคย ( กล้ามเนื้อประสาทลูกตาจะล้า การปรับโฟกัสลูกตาเริ่มช้าลง)
3. การก้มๆ เงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอม กลับไปกลับมา " ทำให้สายตาเสีย "
4. การปรับจอภาพที่มีแสงสว่างจ้า มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว " ทำให้สายตาเสีย " ข้อนี้คล้ายๆ กับการเปิดดูทีวีในห้องมืดๆ เป็นประจำ แล้วทำให้สายตาเสียน่ะเอง อย่างเดียวกัน
5. การใช้จอคอม ที่มีความกว้างมากเกิน จอคอมกว้างๆ นั้น เหมาะสำหรับการดูภาพดูหนัง แต่ไม่เหมาะกับการดูตัวหนังสือ เพราะว่า สายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษรที่ 1 ฟุต ( 12 นิ้ว) แต่จอคอมสมัยใหม่ กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งมันกว้างเกินระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่อีกขอบหนึ่ง ( ทำให้ปวดทั้งคอ ทั้งลูกตา) แค่คุณนั่งอ่านหนังสือบนจอกว้างแบบนี้หนึ่งชั่วโมง ลูกตาคุณจะทำงานปรับโฟกัส กลับไปกลับมาเป็นพันๆ ครั้ง และถ้าเป็นปี หรือ หลายปี ติดต่อกัน สายตาคุณเสียแน่นอน เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจะอ่านหนังสือจากจอคอมขนาดของจอคอมของคุณต้องไม่เกิน 15 นิ้ว

ถามกลับไปว่า ทำไม กระดาษเอกสารที่ใช้ในการอ่าน การเขียนทั่วไป จึงมีขนาด A4 ? ( คำตอบ ก็คือ ความกว้างของกระดาษ A4 ไม่กว้างเกินไป กำลังพอดี ในการกวาดสายตามอง ยังไงล่ะครับ)

และเป็นคำตอบเดียวกับที่ว่า ทำไมขนาดของจอคอมคุณที่จะเอามาอ่านหนังสือ ไม่ควรเกิน 15 นิ้ว นั่นเอง ส่วนมากคนทั่วไป มักจะคิดไม่ถึงว่า การเล่นคอมทุกวัน ง่ายๆ นั้น จะเป็นสาเหตุ ที่สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าเกิดรุนแรง เพราะกว่าจะรู้ตัวไปหาหมอ หมอก็อาจจะบอกว่าคุณไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น!!!

ผมจึงอยากจะฝากประโยคเอาไว้ให้คนที่เล่นคอมทุกคนว่า คอมพิวเตอร์นั้น มีไว้สำหรับการค้นหาข้อมูล ไม่ได้มีไว้สำหรับการอ่านเป็นประจำ โดยเฉพาะการอ่าน อะไรก็ตามที่ยาวๆ เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นไดอารี่ หนังสือบนเนต คุณเสี่ยงทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราควรจะกลับมาอ่านหนังสือกระดาษกันเหมือนเดิม ลืมเรื่องเล่นเนต เล่นคอมซะ เพื่อสุขภาพตา

ปกติที่เห็นใยแมงมุมดำๆ (เรียกว่า Floaters) เป็นผลจากการเสื่อมสลายของวุ้นในลูกตาจนเกิดเป็นตะกอนข้างใน ไม่ได้เป็นอันตรายครับ เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนจะค่อยๆ ลอยออกจากลานสายตาไปอยู่บริเวณขอบๆ มากขึ้นจนเราจะไม่สังเกตเห็นมันไปเอง แต่คนที่เริ่มมีอาการเห็นแสงกระพริบ ( Flashing) นั้นน่าสงสัยว่าอาจมีจอประสาทตาลอก ( Retinal detachment) หรือวุ้นลูกตาลอก ( Posterior vitreous detachment)

คนที่เพิ่งจะเริ่มสังเกตเห็นอาการนี้เป็นครั้งแรก แนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์ครับ เพื่อตรวจดูว่าเริ่มมีจอประสาทตาลอก/วุ้นลูกตาลอกแล้วหรือยัง ถ้าแพทย์บอกว่ายังไม่มี เป็นแค่วุ้นลูกตาเสื่อมธรรมดา ก็สบายใจได้ แต่ไม่ใช่สบายจนลืมระวังตัวนะครับ ต้องคอยสังเกตตัวเองด้วยว่าถ้าเห็น Flashing กับ Floater ปริมาณมากกว่าเดิมแบบเฉียบพลัน ควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้งครับ

ในคนปกติจะมีการเสื่อมสลายของวุ้นลูกตาอย่างช้าๆ อยู่ตลอดเวลาครับ แต่จะมีอาการเร็วหรือช้าก็ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนอีก
- คนที่มีสายตาสั้นมากๆ
- เคยมีประวัติกระทบกระเทือนลูกตาอย่างรุนแรง
- เคยมีการอักเสบหรือติดเชื้อภายในลูกตา
- เคยได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
- คนที่มีวุ้นลูกตาลอกหรือจอประสาทตาลอกมาแล้วข้างหนึ่ง
- คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควุ้นลูกตาเสื่อมหรือจอประสาทตาลอก

คนเหล่านี้ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการเสื่อมสลายของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป

การป้องกัน

จากที่ได้อ่านที่ดอสโพสไว้ การใช้สายตาให้น้อยลงก็อาจเป็นหนทางหนึ่งที่ป้องกันการเกิดได้นะ แต่ว่าในบทความของต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้กล่าวถึงส่วนนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรู้จักอาการของโรค และระวังตัวเองอยู่เสมอ เมื่อเริ่มสังเกตเห็น Flashing หรือ Floaters ก็ควรพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีจอประสาทตาหรือวุ้นลูกตาลอกเกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปถึงจุดที่อันตรายนั่นเอง

การเห็น Floater ถือเป็นความผิดปกติ นะครับ แต่การที่เพิ่งมองเห็นเป็นครั้งแรก ปริมาณไม่มากนัก และได้พบจักษุแพทย์เพื่อยืนยันแล้วว่าไม่มีการเกิดจอประสาทตาหรือวุ้นลูกตาลอก เป็นเพียงแค่วุ้นลูกตาเสื่อม นี่คือไม่อันตรายครับ

แต่ถ้าเห็น Floater หรือ Flashing ปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม อันนี้ต้องเริ่มสงสัยครับว่าโรคได้ดำเนินต่อไปถึงขั้นที่มีการลอกแล้วหรือเปล่า ถ้าปล่อยไว้นานโดยไม่ใส่ใจถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นอยู่ อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งต้องรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจครับ

การป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์

จากการที่เราๆ ท่านๆ ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวลานานๆ แน่นอนย่อมมีผลเสียกับสุขภาพ ซึ่งมักจะมีอาการปวดตาและเมื่อยล้าของนัยน์ตาก็คงจะเคยเกิดกับผู้ที่ทำงานหรือใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจักษุแพทย์ได้พบว่ามีหลายๆ สาเหตุที่ทำให้นัยน์ตาต้องเสี่ยงภัยจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นผลทำให้เกิดอาการปวดตา ฉะนั้นจึงขอแนะนำการป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดังนี้
1. นั่งในท่าที่เหมาะสม และห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-30 นิ้ว
2. จอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20-26 องศา
3. จัดเอกสารที่ต้องใช้ดูประกอบไว้ใกล้กับจอเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้ลดการส่ายศีรษะไปมามาก และลดการเปลี่ยนระยะการดูของสายตาในระยะที่ต่างกันมาก
4. จัดแสง และแสงสะท้อนจากจอให้ลดลงในระดับที่ตาเรารู้สึกสบาย
5. อย่าให้มีฝุ่นเกาะจอคอมพิวเตอร์ ควรทำความสะอาดเสมอ
6. พักสายตา พักอิริยาบถทุกๆ 20 นาที เพื่อป้องกันตาเมื่อย
7. กะพริบตาบ้าง ถ้ารู้สึกแสบตา หรือใช้น้ำตาเทียมหยดเป็นครั้งคราว
8. จอภาพคอมพิวเตอร์ต้องโฟกัสชัดเจน ตัวหนังสือภาพในจอให้ปรับให้ชัดเสมอ
9. ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี และจำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรใช้แว่นอ่านหนังสือที่เหมาะสม และไม่ควรใช้แว่น 2 ชั้น หรือแว่นไม่มีชั้น เพราะจะทำให้ต้องเงยหน้าอ่านข้อความในจอตลอด ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ปวดต้นคอเพิ่มขึ้น

การทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียหายให้กับดวงตาของเรา ฉะนั้นนัยน์ตาของคนเรานับว่ามีค่ายิ่งควรแก่การทนุถนอมไว้ โดยการหลีกเลี่ยงต้นเหตุ และป้องกันปัญหาสุขภาพไว้ ในระหว่างทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยให้ดวงตาอยู่กับเราตราบนานเท่านานตลอดไป


ต่อไปเป็นท่าการบริหารสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

No comments: